วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้่ทั่วไปสำหรับผู้เริ่มต้นดูดาว


                การดูดาวถือเป็นงานอดิเรกอีกชนิดหนึ่ง ที่ให้ทั้งความเพลินเพลิน ให้ความรู้เกี่ยวกับ ดวงดาวและเอกภพได้เป็นอย่างดี การสังเกตท้องฟ้ายามค่ำที่เต็มไปด้วยแสงดาวระยิบระยับนับหมื่นนับล้านดวง สร้างความสุขใจได้ดีพอสมควร หากเราสังเกตด้วยสายตาผาดๆ ก็คงสัมผัสกับบรรยากาศที่น่าตื่นตาของมันได้เพียงอย่างเดียวแต่หากเราศึกษาให้ลึกลงไปกว่านั้นรู้จักถึงกลุ่มดาวต่างๆ ดาวแต่ละดวงที่กำลังทอแสงแข่งกันได้ก็คงเป็นการดี ช่วยเพิ่มอรรถรสและบรรยากาศในการชื่นชมท้องฟ้ายามค่ำได้ดีขึ้นกว่าเก่าอีก มากทีเดียว
               การที่เราจะเริ่มต้น หัดดูดวงดาวนั้นจะว่าเป็นเรื่องง่ายที่ไม่ต้องมีความรู้พื้นฐานเลยก็ไม่ถูก ต้องนักหรือจะจัดให้เป็นเรื่องยากชนิดที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาค้น คว้าอย่างยากเย็นก็ไม่เชิงซะทีเดียว  การเรียนรู้เกี่ยวกับหมู่ดาวของกิจกรรมชนิดนี้อาจจะต้องอาศัยความเข้าอกเข้า ใจและสร้างความคุ้นเคยให้กับท้องฟ้าอยู่บ้างเหมือนกัน ผู้ที่สนใจเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ จึงจำต้องมีความรู้เกี่ยวกับท้องฟ้าและดวงดาวอยู่บ้างตามสมควร 

หมู่ดวงดาวที่เราเห็นส่องแสงเป็นประกายอยู่ในยามค่ำนั้น นักดาราศาสตร์จัดแบ่งออกเป็นกลุ่มดาวฤกษ์  ในสมัยอดีตที่วิชาดาราศาสตร์เริ่มเป็นที่สนใจของมนุษย์ตามหลักวิชาการพยายาม ทำความเข้าใจด้วยการศึกษาอย่างวิทยาศาสตร์ ปโตเลมี นักดาราศาสตร์ชาวกรีกผู้ซึ่งสนอกสนใจในการเคลื่อนไหวของหมู่ดาวได้จัดแบ่ง กลุ่มดาวฤกษ์ที่เขาสังเกตเห็นออกเป็น  48 กลุ่มดาว  ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้รวมเอากลุ่มดาวในซีกโลกใต้ที่นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ ยังไม่สามรถสังเกตเห็นได้  ต่อมาในปี ค.ศ. 1930 องค์การดาราศาสตร์สากล ( Internation Astronomical   Union หรือ IAU) ได้แบ่งกลุ่มดาวออกเป็น 88 กลุ่ม ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ในดาว ทั้ง 88 กลุ่มนี้ยังถูกจัดแบ่งออกไปตามกลุ่มดาวทางซีกฟ้าทางใต้และซีกฟ้าทางเหนือตาม ตำแหน่งที่ปรากฏ 

                สำหรับประเทศไทย สามารถมองเห็นกลุ่มดาวต่างๆที่ทาง องค์การดาราศาสตร์สากล จัดแบ่งไว้ทั้งหมด 88 กลุ่มได้ราว  74 กลุ่มเท่านั้น ยังมีกลุ่มดาวอีกราว 14 กลุ่มที่ตกสำรวจไปจากสายตาผู้สังเกตในประเทศไทย ในความเป็นจริงแล้วสำหรับการเริ่มตันศึกษานั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษา ให้รู้จักดวงดาวทั้ง 88 กลุ่มนั้นมีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่เป็นที่นิยมศึกษาของผู้เริ่มต้นทาง ด้านดาราศาสตร์  ทั้งยังต้องเรียนรู้ดาวที่สำคัญๆ ในเบื้องต้นหรือเส้นสมมติต่างๆที่ใช้ในทางดาราศาสตร์ 

เส้นศูนย์สูตรฟ้า

                เป็นเส้นแบ่งซีกโลกฟ้าออกเป็นสองส่วนตามแนวเหนือใต้ เช่นเดียวกับเส้นศูนย์สูตรของโลกในภาคพื้นดิน เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะตั้งฉากกับแกนโลกและ เป็นเส้นทับตำแหน่งเดียวกับเส้นศูนย์สูตรบนพื้นโลกนั้นเอง เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะทำหน้าที่แบ่งซีกโลกฟ้าออกเป็นสองส่วน 

          1. ซีกฟ้าเหนือ จะนับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นตัวแบ่งให้เป็น 0 องศา นับขึ้นไปทางขั้วฟ้าเหนือ 90 องศา ซีกโลกฟ้าในส่วนนี้ทางดาราศาสตร์ถือว่าเป็นซีกฟ้าเหนือ

          2. ซีกฟ้าใต้จะนับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นตัวแบ่งให้เป็น 0 องศา นับลงไปทางขั้วฟ้าใต้ 90 องศา ซีกโลกฟ้าในส่วนนี้ทางดาราศาสตร์ถือว่าเป็นซีกฟ้าใต้

          แม้ เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะเป็นเส้นซึ่งขนานกันไปกับเส้นศูนย์สูตรโลกแต่ผู้สังเกต ที่อยู่ในพื้นที่ต่างกันก็จะมองเห็นเส้นศุนย์สูตรฟ้าที่แตกต่างกันไป ดังเช่น

(ข้อมูลในส่วน นี้อ้างอิงจาก   เส้นศูนย์สูตรฟ้าสำคัญอย่างไร  โดย  สุจิตรา ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์   สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
ดาวเหนือ

          การศึกษาถึงดวงดาวบนท้องฟ้านั้น จำเป็นที่เราต้องมีจุดหมายในการค้นหาตำแหน่งต่างๆของดวงดาวอื่นๆ เพื่อขยายขอบเขตแห่งการเรียนรู้ต่อไป  ดาวเหนือเป็นดวงดวงหนึ่งอันเป็นที่นิยมในการถือเอาเป็นจุดเริ่มต้นในการ เรียนรู้ศึกษาถึงดวงดาวอื่นๆต่อไป

           ดาวเหนือมีชื่อเรียกในทางดารา ศาสตร์สากลว่า ดาว Polaris หรือ Cynosura เป็นดาวที่ตรงกับตำแหน่งของขั้วโลกเหนือพอดี จึง ถูกเรียกในภาษาไทยว่าดาวเหนือ  เป็นดาวที่มีความความสว่างไสวที่สุดเมื่อสังเกตด้วยตาเปล่าในกลุ่มดาวหมี เล็ก   ดาวเหนือไม่ได้อยู่ตรงกับขั้วโลกเหนือซะทีเดียว
ดาวเหนือ
ภาพจาก 
http://lasp.colorado.edu

           ด้วย ความที่โลกเราเลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานี้เอง ทำให้ ดาวเหนือไม่ได้มีตำแหน่งอยู่ในจุดสังเกตของคนเราบนพื้นโลกที่ตรงกับตำแหน่ง ขั้วโลกเหนืออยู่อย่างเสมอ แต่ดาวเหนือนั้นเป็นการผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันของดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวอื่นๆจะมาแทนทีของมันเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาศัยเวลาที่ค่อนข้างยาวนานพอสมควร ในอดีตนั้นดาวทูเบน ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวมังกร ก็เคยเป็นดาวเหนือ ในอนาคตจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์พบว่าดาวเวกา ในกลุ่มดาวพิณก็จะกลายมาเป็นดาวเหนือแทนดาวเหนือในปัจจุบันอันเนื่องมาจาก การหมุนส่ายของโลกที่มีคาบการหมุนอยู่ราวๆ 26,000 ปีนั้นเอง ในขณะที่ดาวเหนือในปัจจุบัน จะมีตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับ ขั้วโลกเหนืออย่างมากในปีค.ศ. 2100 นี้ โดยมีองศาห่างไปแค่ไม่ถึง 1 องศาเท่านั้น

แผนที่ดาว

          อุปกรณ์ที่จำเป็นอีกอย่าง หนึ่งในการเริ่มต้นศึกษาดาราศวาสตร์คือแผนที่ดาว แผนที่ชนิดนี้จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางที่ทำให้เราสามารถเรียน รู้และเข้าใจเกี่ยวกับหมู่ดาวต่างๆได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยการสอบเทียบกับแผ่นที่ดาวดังกล่าว โดยสามารถเลื่อนแผ่นที่เพื่อสังเกตดวงดาวได้ตามวันเวลาที่มีปรากฏอยู่บนแผ่น ที่ แผ่นที่ดาวมีวางขายที่ท้องฟ้าจำลองซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นกระดาษที่แสดงให้ เห็นกลุ่มดาวต่างๆ และแม้กระทั่งในปัจจุบันยังมีบริการให้ดาวน์โหลดแผ่นที่ดาวเพื่อใช้ในการ ศึกษาของเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ของต่างประเทศอยู่บ้างเหมือนกันส่วน ใครจะใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความถนัด


แผนที่ดาว
ภาพจาก 
http://www.lesacd.in.th

          แผนที่ดาวถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียไม่ได้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาทาง ด้านดาราศาสตร์เพราะมันจะทำหน้าที่นำทางเราให้เข้าอกเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ ดวงดาวและท้องฟ้า ในขั้นแรกของการศึกษาแน่นอนว่าเราต้องเทียบดวงดาวที่ปรากฏด้วยตากับดวงดาว ดังกล่าวที่ปรากฏอยู่บนแผ่นที่ดาว เพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนและสามารถสังเกตเห็นดาวดวงต่อๆไปได้อย่างไม่ติดขัด สับสน

การวัดมุมดวงดาว

          การวัดมุมดาวเป็นวิธีการหนึ่งที่ไม่ ต้องอาศัยอุปกรณ์เพิ่มเติมนักดาราศาสตร์สามารถวัดได้ด้วยอาศัยฝ่ามือตนเอง ซึ่งวิธีการนี้ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นดาว ได้ดียิ่งขึ้นและรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของมันโดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อย่าง อื่นมาช่วยเลยเพียงแต่การอาศัยการสังเกตและความรอบคอบในการวัดระยะมุมเท่า นั้นเอง
กล้องดูดาว

          กล้อง ดูดาวถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่จำเป็นในการศึกษาทางดาราศาสตร์ แต่ในระยะแรกนั้นกล้องดูดาวที่มีราคาสูง ก็อาจจะยังไม่จำเป็นเท่ากับการที่เราจะทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับดวง ดาว

          การใช้กล้องโทรทัศน์ในการสังเกตดวงดาวในระยะแรกของ การเริ่มต้นเรียนรู้การดูดาวนั้น อาจจะสร้างความปัญหาให้กับผู้เริ่มต้นได้มากพอสมควรเนื่องจากยังไม่ชำนาญใน การใช้กล้อง  และออกจะดูเป็นการข้ามขั้นตอนอยู่สักหน่อย  เพราะการที่ดาวเปลี่ยนตำแหน่งในการสังเกตอยู่ตลอดเวลาบวกกับความที่ยังไม่ ชำนาญในตำแหน่งดาว การใช้กล้องดี ๆพร้อมกับความคาดหวังที่เต็มเปี่ยม ว่าจะต้องเห็นความลับของจักรวาลอย่างถนัดถนี่ก็อาจสร้างความผิดหวังให้กับ มือใหม่ได้มากทีเดียว

          แต่หากทุนทรัพย์พร้อมแล้วก็ย่อมจะไม่มีปัญหา ในเรื่องอุปกรณ์ที่จะอำนวยความสะดวกให้เราแต่กระนั้นก็ควรจะมีพื้นบานเกี่ยว กับดวงดาวอยู่บ้าง กล้องที่เหมาะสมในระยะแรกของการศึกษาทางดาราสาสตร์นั้นผู้นิยมเวหายามค่ำ มักแนะนำให้มือใหม่ใช้กล้องสองตาก่อนเพื่อทำความคุ้นเคยกับท้องฟ้าก่อนที่จะ ขยับไปใช้กล้องที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

          การดูดาวนับเป็นงาน อดิเรกทีน่าพิสมัยมากอีกอย่างหนึ่ง ที่สามารถให้ทั้งความรู้และความบันเทิงไป พร้อมๆกัน วิชาดาราสาสตร์หรือการสังเกตการเคลื่อนตัวของดวงดาวนั้นช่วยสร้างศาสตร์อื่น ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิชาการเดินเรือที่ต้องอาศัยดาวเป็นหลักในการนำทาง  โหราศาสตร์เองก็อาศัยการเปลี่ยนแปลงของท้องฟ้ายามค่ำในการทำนายทายทักตาม หลักสถิติ  ทั้งการดูดาวยังสร้างเทคโนโลยีให้กับมนุษย์ตามมาอีกมากมายเหนือสิ่งอื่นใด การศึกษาทางดาราศาสตร์ยังสร้างแรงขับดันจากภายในให้มนุษย์พยายามทำความเข้า ใจกับมันมากยิ่งขึ้น และให้เราได้ ก้าวข้าม ขอบโลกออกไปเผชิญหน้ากับท้องฟ้าอันกว้างไพศาลภายนอกโลกสีน้ำเงินใบนี้อย่าง เต็มไปด้วยความสงสัย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น