วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มดาวจักรราศี


กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac)

เมื่อเรายืนอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่น ทุ่งโล่งหรือชายทะเล    และสังเกตท้องฟ้า เราจะเห็นว่าท้องฟ้ารูปครึ่งทรงกลมครอบเราอยู่   เรียกว่า ทรงกลมท้องฟ้า (Celestial Sphere)” โดยเราจะอยู่ที่จุดศูนย์กลางเสนอพื้นดินที่เรายืนอยู่ เป็นระนาบขนาดใหญ่           ที่เราเรียกว่า ระนาบขอบฟ้า (Horizontal Plane)”       เส้นขอบฟ้า (Horizontal line) จะเป็นเส้นรอบวงที่ล้อมรอบผู้สังเกตที่อยู่ไกลลิบ   มองเห็นเป็นรอยต่อระหว่างทรงกลมท้องฟ้ากับพื้นดิน       นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า  ที่เราควรรู้จัก คือ    จุดเหนือศีรษะ(Zenith)”

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ก็คือ     การรู้จักทิศบนโลก เราใช้หลักเกณฑ์อย่างใดในการ         กำหนดทิศบนโลกพร้อมให้เหตุผลประกอบการที่โลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศเดียวกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์นักวิทยาศาสตร์ จึงได้กำหนดให้ทิศที่โลกหมุนไปเป็นทิศตะวันออก        ส่วนทิศที่อยู่ตรงข้ามกับการหมุนของโลกเป็นทิศตะวันตก        ดังนั้นขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองทิศจึงติดไปกับโลกตลอดเวลา ดังภาพ แสดงทิศเมื่อเทียบกับผู้สังเกต ณ ตำแหน่งต่างๆ  เมื่อโลกหมุนพาสังเกตไปอยู่ ณ ตำแหน่ง 1 และ 3 ผู้สังเกตจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ทิศเดียวกันหรือไม่ เพราะเหตุใด เมื่อผู้สังเกตมาอยู่ ณ ตำแหน่งที่ 1  2  3 และ 4   จะเป็นเวลาประมาณเท่าใด เมื่อเรามีความเข้าใจในเรื่องทรงกลมท้องฟ้าและระนาบขอบฟ้า รวมทั้งหลักเกณฑ์การกำหนดทิศบนโลกแล้ว  ให้เรากำหนด เหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก  ณ  ตำแหน่งที่เรายืนอยู่ จากนี้ ให้เราสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า  เช่น  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  และดวงดาวต่าง  ๆ     เป็นต้นวัตถุท้องฟ้ามีการเคลื่อนที่อย่างไร ทำไมเราจึงสังเกตเห็นวัตถุท้องฟ้ามีการเคลื่อนที่ในแต่ละวัน ถึงตรงนี้   คงเข้าใจคำบางคำตามหลักดาราศาสตร์กันแล้ว จะได้ไปดูดาวกันเสียที การสังเกตดาวระยิบระยับอยู่เต็มท้องฟ้า   ในสมัยโบราณนั้น มลภาวะทางแสงจะน้อยกว่าปัจจุบัน     จะเห็นดาวฤกษ์ดาดดื่นเต็มท้องฟ้าไปหมด และสังเกตเห็นการอยู่รวมกันของกลุ่มดาวฤกษ์เป็นกลุ่มเป็นพวก ที่เราเรียกกันว่า กลุ่มดาว (Constellation ซึ่งมาจากคำว่า Con แปล ว่าอยู่ด้วยกัน กับคำว่า Stella แปลว่า ดาวฤกษ์) ทำให้คนในสมัยโบราณได้จินตนาการกลุ่มดาวบนท้องฟ้าเป็นรูปคน    รูปสัตว์ต่าง ๆ กัน โดยเมื่อ 2,000 ปีก่อน พโทเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกได้แบ่ง กลุ่มดาวเอาไว้จำนวน 48 กลุ่ม     โดยไม่ได้มีกลุ่มดาวทางซีกฟ้าใต้ เนื่องจากไม่ได้เห็นบนท้องฟ้า                 จนกระทั้งปี  ค.ศ. 1930      องค์การดาราศาสตร์สากล ( Internation Astronomical Union หรือ IAU) ได้ตกลงแบ่งเขตกลุ่มดาวให้ชัดเจนขึ้น     โดยกำหนดใช้พิกัด R.A และ Dec กำหนดกลุ่มดาวทั่วท้องฟ้า และแบ่งกลุ่มดาวฤกษ์ออกเป็น 88 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มกำหนดไว้ในรูปของตัวบุคคล     เครื่องมือสัตว์ต่าง ๆ ในเทพนิยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทพนิยายกรีก       ซึ่งเป็นนิยายปรัมปราที่มีการเล่าขานสืบต่อมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และยังเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน การกำหนดเช่นนี้ทำให้การจดจำกลุ่มดาวต่าง  ๆ   ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังทำให้การดูดาวมีความสนุกสนานเพลิดเพลินสำหรับประเทศไทยซึ่งมีตำแหน่งบนโลกคือ   ละติจูดประมาณ 15 องศาเหนือ ณ ตำแหน่งนี้คนไทย จะเห็นกลุ่มดาวได้ราว 74  กลุ่ม  ครอบคลุมพื้นที่ระหว่าง Dec. +  90  องศาเหนือถึง Dec.-75 องศาใต้ ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เราจะแบ่งกลุ่มดาวออกเป็นส่วนๆ คือ

              1) กลุ่มดาวซีกฟ้าเหนือ   โดยการใช้แนวเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Dec 0 องศา) เป็นตัวแบ่ง   นับไปทางขั้วฟ้าเหนือ (Dec +90)  ซึ่งแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้านี้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตเป็นหลัก ถ้าผู้สังเกตอยู่ซีกฟ้าเหนือ    เส้นศูนย์สูตร

ฟ้าของเฉียงค่อนไปทางใต้      ห่างจากจุดกลางศีรษะเราเท่ากับตำแหน่งละติจูดที่ผู้สังเกตอยู่      เช่นประเทศไทย  อยู่ละติจูด 13.5 องศาโดยเฉลี่ย(ตำแหน่งของกรุงเทพฯ)      เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะเองค่อนไปทางใต้ 13.5 องศา ด้วยเช่นกัน 

              2) กลุ่มดาวซีกฟ้าใต้   โดยการใช้แนวเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Dec 0 องศา) เป็นตัวแบ่ง นับไปทางขั้วฟ้าใต้
3) กลุ่มดาวจักรราศี   คือกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่าน    เราเรียกเส้นนี้ว่า   สุริยวิถี (Ecliptic) เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวที่แน่นอน 12 กลุ่มในรอบ 1 ปี       การสังเกตกลุ่มดาวจักรราศีนี้จะอยู่ใกล้เคียงกับแนวเส้นศูนย์สูตรฟ้า โดยมีตำแหน่งห่างมากที่สุด 23.5 องศา เท่ากับแกนเอียงของโลก    ปัจจุบันตำแหน่งสูงสุดทางซีกฟ้าเหนืออยู่บริเวณกลุ่ม  ดาวคนคู่ (Gemini)  และตำแหน่งต่ำสุดทางซีกฟ้าใต้อยู่บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)      การไล่ตำแหน่งกลุ่มดาวจักรราศี จะไล่จากทิศตะวันตกไปตะวันออกบนท้องฟ้า
              4) กลุ่มดาวแนวทางช้างเผือก   เป็นการคาบเกี่ยวระหว่างข้อ 1 ถึง 3  เป็นแนวกลุ่มดาวพิเศษที่แยกมาเพื่อง่ายต่อการจดจำอีกวิธีหนึ่ง    เนื่องจากแนวทางช้างเผือกนั้นจะมีแนวผ่านกลุ่มดาวที่แน่นอนบนท้องฟ้า         ซึ่งตำแหน่งศูนย์กลางของทางช้างเผือกนั้นจะอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างกลุ่มดาว แมงป่อง (บริเวณหาง)        กับกลุ่มดาวคนยิงธนู ใกล้กับแนวเส้นสุริยะวิถี (Ecliptic) ทำมุมระหว่างกัน   60   องศา     โดยจะไล่ไปทางซีกฟ้าเหนือผ่านไปทางกลุ่มดาวนกอินทรีย์(Aquila) ลูกธนู(Sagitta) หงส์(Cygnus) เซเฟอุส(Cepheus) คาสสิโอเปีย(Cassiopeia)  เปอร์เซอุส(Perseus) สารถี(Auriga) คนคู่(Gemini) ม้ายูนิคอน(Monoceros) สุนัขใหญ่(Canis Major) ท้ายเรือ(Pupis) ใบเรือ(Vela) กระดูกงู
เรือ(Carina) บางเขนใต้(Crux) ม้าครึ่งคน(Centaurus) แท่นบูชา(Ara) และ แมงป่อง(Scorpius) ครบรอบ
ทางดาราศาสตร์ (Astronomy) พื้นฐานที่เราเคยเรียนมาตั้งแต่เด็ก  ๆ  ก็คือ   การหมุนรอบตัวเองของโลก  ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เวลาและฤดูกาลผ่านไป   โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ กินเวลา 1 ปี ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เกิดการเปลี่ยนรูปร่างที่เรียกว่า  "ข้างขึ้น-ข้างแรม"     ถ้าสังเกตให้ดีดวงจันทร์เทียบกับดาวฤกษ์หรือกลุ่มดาว จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนผ่านไปตามกลุ่มดวง 12 กลุ่ม   เมื่อติดตามการปรากฏของกลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่มนี้อย่างละเอียด           พบว่า
ในขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกนั้น  เส้นทางที่  ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรไปบนท้องฟ้าผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ ในรอบปีหนึ่ง  ๆ  นั้น  เรียกว่า    สุริยวิถี (Ecliptic) เส้นนี้พาดจากขอบฟ้าทิศตะวันออก  ผ่านกลางฟ้าเหนือศีรษะไป      ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก ดวงอาทิตย์ก็เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่มนี้เช่นกัน เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาว 12 กลุ่ม ครบรอบจะสัมพันธ์กับรอบการเกิดฤดูกาลบนโลกพอดี ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาว 12 กลุ่มครบรอบกำหนดให้เป็นเวลา 1  ปี  บรรดาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์      และดวงนพเคราะห์ ต่างเคลื่อนที่ในแนวแถบเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) ผ่านกลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่ม        ซึ่งเราเรียกลุ่มดาวกลุ่มนี้ว่า   กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac)   ทั้ง 12     และนี่เองที่ทางโหราศาสตร์(Astrology)  อันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำนาย และการพยากรณ์โชคชะตา (Horoscope) ของมนุษย์, ปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ของบ้านเมือง   และของโลก ได้อาศัยตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ  บนท้องฟ้าเป็นเครื่องชี้ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติในการทำนายทายทัก เพราะเชื่อว่า แต่ละคนมีช่วงเวลาเกิดต่างกันย่อมมีดวงดาวและธาตุประจำตัวที่ต่างกันไป ซึ่งมีอิทธิพลกับบุคลิก   ลักษณะนิสัย   และการดำรงชีวิต   ของแต่ละบุคคล
              Zodiac คำนี้มาจากภาษาละติน คำว่า zōdiacus , มาจากภาษากรีก ζωδιακός κύκλος (zōdiakos
kuklos)หมายถึง " วงกลมของสัตว์ " (Circle of animal), ζώδιον (zōdion) ζῶον (zōon)   หมายถึง     "สัตว์
เล็ก ๆ " (Animal)   และได้ใช้สัตว์ชนิดต่าง ๆ บนวงกลม  เป็นตัวแทนสัญลักษณ์        ส่วนคำไทยใช้คำว่า  จักรราศี หมายถึง วงล้อ วงกลม ของกลุ่มดาวรูปต่าง  ๆ      ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  12  ส่วน  แทนด้วยสัตว์จริง  หรือสัตว์สมมุติ
กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) ทั้ง 12 คือ กลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่มที่ปรากฏอยู่ตามแนวเส้นสุริยวิถี (Ecliptic)    ฮิปปาร์คัส  ( Hipparchus )แบ่งแถบเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) ซึ่งเป็นแถบกว้าง 16 องศา กว้างวัดจากสุริยะวิถี (Ecliptic) ไปข้างละ 8 องศา รอบท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนกว้าง 30 องศา ทุกราศีมีดาวฤกษ์ประจำอยู่ 1 กลุ่ม จึงเรียกกลุ่มดาว 12 ราศี เวลาดูในท้องฟ้า จะเห็นกลุ่มดาว   12  ราศีเรียงตามลำดับ  จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก  และจะมีชื่อเรียกตามกลุ่มดาวที่อยู่ในแถบแนวเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) นี้ว่า   " เครื่องหมาย  หรือ  สัญลักษณ์จักรราศี (Sign of the Zodiac) "

              โลก ในบรรดาดาวเคราะห์ต่างๆในสุริยจักรวาล เราถือว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นที่ให้กำเนิดแก่มนุษย์ มนุษย์ได้อาศัยอยู่เป็นเวลานานมาแล้ว และคงจะอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน โลกที่เราอาศัยอยู่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8,000 ไมล์ เมื่อนำเอาไปเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์แล้ว โลกเรามีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ 108 เท่า เพราะฉะนั้น จำนวน 108 จึงมีความหมายที่สำคัญในหลายทรรศนะในวิชาโหราศาสตร์ โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก รอบแกนซึ่งต่อระหว่างขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ การหมุนรอบตัวเองของโลกในลักษณะนี้ ทำให้เรามองเห็นท้องฟ้า รวมทั้งดวงอาทิตย์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกอยู่ตลอดเวลา ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่า ท้องฟ้าหมุนรอบโลก ถ้าเราอยู่ ณ เส้นศูนย์สูตรโลกซึ่งมีความยาวประมาณ 25,000 ไมล์ ในการที่โลกหมุนรอบตัวเอง ณ จุดที่เราอยู่บนพื้นโลกจะมีอัตราความเร็วประมาณ 1,040 ไมล์ต่อ 1 ช.ม. การที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ เราใช้กำหนดเป็นมาตรฐานของ 1 วัน มาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามหลักฐานทางดาราศาสตร์พบว่า การหมุนรอบตัวเองของโลกจะไม่สม่ำเสมอเท่ากันตลอด ยิ่งนานวันเข้า โลกจะหมุนรอบตัวเองช้าลงทุกที ยังผลให้เวลาในวันหนึ่งๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการแกว่งส่ายของโลก และเกิดจากการเสียดสีของน้ำในมหาสมุทรกับพื้นผิวโลก
การที่โลกหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน       เป็นผลให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์โคจรเคลื่อนที่ไปปรากฏอยู่ตามกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ซึ่งมีความบูดเบี้ยวน้อยมาก ระยะทางเฉลี่ยระหว่างจุดศูนย์กลางของโลกกับดวงอาทิตย์ ประมาณ 92 ล้าน 9 แสนไมล์ หน่วยดาราศาสตร์ Astronomical unit เนื่องจากโลกโคจรเป็นรูปวงรี ในประมาณต้นเดือน ม.ค.ของทุกปี ราววันที่ 3 ม.ค. โลกจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ณ จุดนี้เรียกว่า  perihelion  โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์น้อยกว่าระยะทางเฉลี่ยประมาณ 1 ล้าน 5 แสนไมล์ ดังนั้นโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 91 ล้าน 4 แสนไมล์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ในปฏิทินดาราศาสตร์ระบบนิรายนะ จะอยู่ที่ราศีธนูประมาณ 19 องศา ดวงอาทิตย์จะโคจรบ่ายเบนไปทางทิศใต้ประมาณ 22 องศา 50 ลิบดา จากเส้นศูนย์สูตรฟ้า ในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะโคจรเร็วที่สุดในอัตรา 61 ลิบดา 9 ฟิลิบดา ต่อ 1 วัน คิดตามเวลามาตรฐานที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 6.45 น. ตกเวลาประมาณ 17.59 น. เวลากลางวันน้อยกว่ากลางคืนประมาณ 46 นาทีในประมาณต้นเดือน ก.ค.ของทุกปี ราววันที่ 5 ก.ค. โลกจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ณ จุดนี้เรียกว่า  aphelion  โลกจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าระยะทางเฉลี่ยประมาณ 1 ล้าน 5 แสนไมล์ ดังนั้นโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 94 ล้าน 4 แสนไมล์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ราศีมิถุน ประมาณ 19 องศา (จะเห็นได้ว่า จุดที่โลกใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด กับจุดที่โลกไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้น จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี) ดวงอาทิตย์จะโคจรบ่ายเบนไปทางทิศเหนือประมาณ 22 องศา 50 ลิบดา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรช้าที่สุดในอัตรา 57 ลิบดา 11 ฟิลิบดา ซึ่งช้ากว่าวันที่โลกโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ประมาณ 3 ลิบดา 58 ฟิลิบดา คิดตามเวลามาตรฐานที่กรุงเทพ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 5.59 น. ตกเวลาประมาณ 18.45 น. เวลากลางวันมากกว่ากลางคืนประมาณ 46 นาที
               ปีนักษัตร   การโคจรของโลกครบหนึ่งรอบพอดี เรียกว่า หนึ่งปีนักษัตร การสังเกตหนึ่งปีนักษัตรครบหนึ่งรอบพอดี เราต้องสมมุติดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งขึ้นเป็นจุดมาตรฐาน ถ้าเราเห็นดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดนี้ 2 ครั้งติดต่อกันเมื่อใด นับเป็นเวลา 1 ปีนักษัตรเมื่อนั้น การนับปีทางวิธีนี้ เป็นปีที่แท้จริงทางดาราศาสตร์ ซึ่งมีเวลาคงที่ โดยคิดตามเวลาพระอาทิตย์เฉลี่ย คือ ปีนักษัตร = 365.25636042 วัน หรือ = 365 วัน 6 ช.ม. 9 นาที 9.5 วินาที ในปัจจุบันนี้ทางดาราศาสตร์ได้พบว่า เวลาของปีนักษัตรจะค่อยๆเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.01 วินาทีทุก ๆ ปี โลกมีอัตราความเร็วในการโคจรรอบดวงอาทิตย์คิดเฉลี่ยประมาณ 18.5 ไมล์ต่อ 1 วินาที หรือประมาณ 66,600 ไมล์ต่อชั่วโมง ถ้าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 26 ไมล์ต่อ 1 วินาที หรือ 93,600 ไมล์ต่อชั่วโมง โลกจะโคจรหลุดออกไปจากบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ และโลกก็จะมีระบบโคจรเช่นเดียวกันกับดาวหางต่าง ๆ โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน การโคจรของโลกแบบนี้ ทำให้แกนของโลกหมุนแกว่งส่ายไปเป็นรูปกรวยกลมรอบแนวดิ่ง ไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับที่โลกหมุน แกนของโลกเอียงทำมุมประมาณ 23.5 องศา กับแนวดิ่งที่ตั้งฉากกับระนาบของการโคจรของโลก ปรากฏการณ์อันนี้ทำให้แกนของโลกเคลื่อนที่เป็นกรวยกลม โดยจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโลกหมุน จะครบรอบหรือครบคาบพอดี กินเวลาประมาณ 25,791 ปี

               สุริยวิถี (Ecliptic)  การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรามองเห็นเสมือนหนึ่งว่า ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก เราจะเห็นว่า ดวงอาทิตย์โคจรไปตามวิถีทางของมันตายตัวเป็นประจำทุกๆปี ทางโคจรของจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ที่เห็นในท้องฟ้านี้    เรียกว่า  รวิมรรค  เป็นวงกลมรีสมมุติที่ใหญ่โตมากเป็นวงรีที่เหมือนกับวงโคจรของโลกทุกประการ แต่ได้ขยายใหญ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด เพระฉะนั้น รวิมรรค     หรือ สุริยวิถี จึงใหญ่กว่าวงโคจรของโลกมากมายหลายแสนหลายล้านเท่า เป็นวงโคจรที่นักดาราศาสตร์ได้สมมุติขึ้น เพื่อคำนวณพิกัด และอัตราความเร็วของการโคจรของดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ รวมถึงจุดคราสพระอาทิตย์ และจุดคราสพระจันทร์ นักดาราศาสตร์สมมุติเอาว่า ดวงดาวต่างๆโคจรอยู่บนเส้นระนาบสุริยวิถีด้วยกันทั้งสิ้น

เราสมมุติว่า สุริยวิถีเป็นที่สิ้นสุดของอาณาเขตฟ้า เส้นต่างๆที่กำหนดขึ้นบนผิวโลกทุกๆเส้น ต่างก็ขยายไปอยู่ในอาณาเขตอันเดียวกันกับเส้นสุริยวิถีทั้งหมด ดังนั้นเส้นศูนย์สูตรโลกก็กลายเป็นเส้นศูนย์สูตรฟ้า เส้นรุ้งและเส้นแวงของโลกก็ไปเป็นเส้นรุ้งเส้นแวงฟ้า จุดขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ก็เป็นจุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของฟ้าตามลำดับ  ท้องฟ้าที่กำหนดขึ้นนี้ จะเต็มไปด้วยเส้นต่างๆ เช่นเดียวกันกับบนผิวโลกทุกอย่าง และมีอาณาเขตไม่มีที่สิ้นสุด วัตถุทุกชนิดที่เรามองเห็นบนฟ้าต่างก็ปรากฏอยู่บนระนาบรูปทรงกลมใหญ่ที่เราสมมุติขึ้นทั้งสิ้น เราถือเอาว่า จุดศูนย์กลางของท้องฟ้าอยู่ ณ จุดของผู้ที่ดูท้องฟ้านั่นเอง เส้นขนานต่างๆ ไม่ว่าจะมีระยะห่างกันสักเท่าใด จะมีทิศทางตรงไปยังจุดเดียวกันบนรูปทรงกลมสมมุตินี้ ดังนั้นเราจะมองเห็นดาวทุกๆดวง ต่างก็มีตำแหน่งเป็นภาพลวงตา อยู่บนระนาบพื้นผิวทรงกลมใหญ่วงนี้ทั้งหมด ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ จึงไม่ใช่ตำแหน่งที่แท้จริง เป็นแต่เพียงทิศทางของดวงดาวเท่านั้นเอง ด้วยประการเช่นนี้ เราจึงมีการกำหนดระยะของดวงดาวต่างๆเป็นจำนวนองศา ไม่ใช่วัดเป็นจำนวนไมล์ และเราเรียกระยะมุมของดาวต่างๆเป็นระยะเชิงมุม จากกฎเกณฑ์อันนี้เอง เราจึงวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้เท่าๆกัน คือ ประมาณครึ่งองศาเท่านั้น โดยทำนองเดียวกัน ระยะที่เรามองเห็นระหว่างดาว 2 ดวง ก็คือ มุมระหว่างแนวทิศทางของดาวทั้ง 2 ดวงนั่นเอง ซึ่งวัดเป็นองศาบนเส้นวงกลมสมมุตินี้
               วิษุวัต(equinox เส้นสุริยวิถี(Ecliptic)และเส้นศูนย์สูตรฟ้า(Celestial Equator)จะตัดกัน 2 จุด และจุดทั้งสองนี้จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี ถ้าโลกโคจรมาถึงจุดนี้ จากการมองเห็นด้วยตาเปล่า เราจะเห็นดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ จะมีปรากฏการณ์พิเศษบนพื้นโลก คือ ในวันนี้ ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก เวลากลางวันจะเท่ากับเวลากลางคืนพอดี จุดตัดทั้งสองนี้ เรียกว่า จุด วิษุวัต หรือ Equinox จุดวิษุวัตซึ่งดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า  อุตรวิษุวัต vernal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์ฟ้าพอดี คือ ไม่ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงกับศีรษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี  กรันติ declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 21 มี..ของทุกๆปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ราศีมีนประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละ 59 ลิบดา 35 ฟิลิบดา คิดตามเวลาที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.22 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.29 น. ในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาที ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า ที่ตั้งของกรุงเทพฯอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 13 องศา 46 ลิบดา ประมาณวันที่ 12 มี.ค.ของทุกปี สำหรับในวันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นที่กทม.เวลา 06.28 น. และตกเวลา 18.28 น. เวลาในภาคกลางวันจะเท่ากับภาคกลางคืน พอดี  จุดวิษุวัตเมื่อดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้วดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า ทักษิณวิษุวัต autumnal equinox  เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี คือ ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันของวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่บนศีรษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี declination = 0 องศา ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ ปัดไปทางทิศใต้ ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 23 ..ของทุกปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ในราศีกันย์ประมาณ 6 องศา 37 ลิบดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละประมาณ 58 ลิบดา 44 ฟิลิบดา คิดตามเวลามาตรฐานที่กทม. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.17 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18.14 น. จะเห็นได้ว่าในวันนี้ที่กทม. เวลาในภาคกลางวันมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนประมาณ 7 นาที ประมาณวันที่ 1 ต.ค.ของทุกปี  ที่กทม.  ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา  06.08  นาที   ตกเวลา 08.08 นาที  เวลาในภาคกลางวัน      จะเท่ากับภาคกลางคืนพอดี  เส้นสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้า มีระนาบต่างกัน โดยทำมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา       จุดบนเส้นสุริยวิถีที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีอยู่ 2 จุด เรียกว่า   มหากรันติ (solstice จุด 2 จุดนี้ จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี และต่างก็อยู่ห่างจากจุดวิษุวัต 90 องศาพอดี ถ้าดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดทั้งสองนี้ เราจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุด  จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด เรียกว่า   อุตรายันsummer solstice  ณ จุดนี้จะมีปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นบนพื้นโลก คือ เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางวันนานที่สุด และเวลากลางคืนน้อยที่สุดจะตรงกับประมาณวันที่ 22 มิ.ของทุกๆปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดอุตรา ยันฤดูกาลในเมืองไทยเราจะเริ่มเข้าฤดูฝน จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด เรียกว่า  ทักษิณายันwinter solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้น คือ เวลาในภาคกลางคืนจะมากกว่าในภาคกลางวันมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางคืนนานที่สุด มีเวลากลางวันน้อยที่สุดจะตรงกับประมาณวันที่ 22 ..ของทุก ๆ ปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดทักษิณายัน เป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว ฤดูนี้ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า และขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว"
จักรราศี (Zodiac)  การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ นักปราชญ์ในสมัยโบราณ ได้กำหนดให้การโคจรของดวงอาทิตย์บนระนาบเส้นสุริยวิถี ซึ่งโคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ ออกเป็น 12 กลุ่ม โดยใช้การโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ โดยกำหนดว่า ดวงอาทิตย์โคจร 1 ปี 365 วัน ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้เวลาโคจรประมาณ 1 เดือน และกำหนด 1 กลุ่มดาวฤกษ์ เรียกว่า 1 ราศี รวมทั้งหมดเป็น 12 เดือน 12 ราศี เรียกว่า จักรราศี แต่ละราศีมีอาณาเขต 30 องศา















1 ความคิดเห็น: